ศึกษาวิจัยการปลูกสมุนไพร เพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์แผนไทย

ศึกษาวิจัยการปลูกสมุนไพร
เพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์แผนไทย

ศึกษาวิจัยการปลูกสมุนไพร เพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์แผนไทย

          คณาจารย์ และนิสิตสาขาวิชาการแพทย์แผนไทย ได้ทำการศึกษาวิธีการปลูกไพล ขมิ้นชัน ขมิ้นอ้อย  ในพื้นที่ของสวนสมุนไพรเฉลิมพระเกรียติ เพื่อศึกษาวิธีการขยายพันธุ์พืชสมุนไพรดังกล่าว ให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่เดิมที่มีน้ำท่วมขัง เพื่อใช้เป็นเครื่องยาในน้ำมันไพล สูตร 1 และ สูตร 2 ของช่อชงโคคลินิกการแพทย์แผนไทย โดยในระยะที่ 1 ได้ทำการปรับพื้นที่ยกร่อง เพื่อสามารถระบบน้ำในแปลง และควบคุมขอบเขตการเจริญเติบโตของสมุนไพรแต่ละชนิด แบบฝั่งกลบ ในช่วงเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2559 และช่วงเดือนมิถุนายน มีการลื้อปลูกแปลงขมิ้นอ้อยจากเดิมเป็นแบบฝั่งกลบทั้งหัว แบบแนวตั้ง เปลี่ยนเป็นฝั่งครึ่งหัวแบบแนวตั้ง ผลพบว่าอัตราการงอก และการเจริญเติบโต และการเน่าเสียหายของหัวพันธุ์มีจำนวนลดลง ล่าสุดเดือนตุลาคม ศกนี้พบว่าสมุนไพรแต่ละชนิดเริ่มมีใบซีดเหลือง พร้อมที่จะลงหัวครั้งที่ 1 พบว่ามีวัชพืช ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเป็นพืชที่สามารถนำมาประกอบเป็นอาหารของท้องถิ่นได้ เช่น ผักบุ้ง ผักแว่น ผักขวง และหูปลาช่อน จึงมีการกำจัดออกบางส่วน และนำฟางมาปิดกลบ แต่ไม่พบว่ามีแมลงศัตรูพืชมารบกวนแปลงสมุนไพรดังกล่าว

          ภาพที่ 1 (ก) พื้นที่ก่อนการเตรียมแปลงปลูกในพื้นที่ของสวนสมุนไพรเฉลิมพระเกรียติ (ข) ทำการยกร่อง และซ่อมหัวพันธุ์ขมิ้นอ้อย บริเวณที่ปักหลักไม้ แบบฝั่งกลบครึ่งหัว (ค) ภาพแสดงการแทงยอด และใบของสมุนไพร (ง) ภาพแสดงการเจริญเติบโตของแปลงสมุนไพร และวัชพืชที่เป็นอาหาร

Share on facebook
Facebook
Share on google
Google+
Share on twitter
Twitter
Scroll to Top